Web Analytics
CONTACT | TEL : 02-728-3440, EMAIL : SALES@ASTRONLOGIC.COM | Cart 0
ภาษา VHDL (2)

» ภาษา VHDL (2)

ภาษา VHDL (2)

องค์ประกอบพื้นฐานของ VHDL
รูปแบบพื้นฐานที่ใช้ในการบรรยายถึงองค์ประกอบของ VHDL จะประกอบไปด้วยส่วนกำหนดการเชื่อมต่อ (Interface) และส่วนกำหนดลักษณะเชิงสถาปัตยกรรม (Architecture) ดังแสดงในรูปที่ 5.3 โดยในการบรรยายการเชื่อมต่อจะขึ้น ต้นด้วยคำว่า ENTITY แล้วตามด้วยชื่อขององค์ประกอบจากนั้นตามด้วยคำว่า IS และถัดมาจะเป็นการบรรยายถึงพอร์ต การติดต่อ อินพุท - เอาท์พุท ขององค์ประกอบ ส่วนลักษณะภายนอกอื่น ๆ เช่น เวลา อุณหภูมิก็สามารถรวมเข้าไปในส่วนนี้ ได้เช่นกัน ในส่วนของการกำหนดลักษณะเชิงสถาปัตยกรรมจะขึ้นต้นด้วยคำว่า ARCHITECTURE ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ บรรยายหน้าที่การทำงานขององค์ประกอบ โดยหน้าที่การทำงานนี้จะขึ้นอยู่กับสัญญาณอินพุท เอาท์พุทและพารามิเตอร์ อื่นๆ ที่ได้กำหนดไว้ในส่วนของการเชื่อมต่อดังรูปที่ 5.3 และสำหรับการบรรยายหน้าที่ขององค์ประกอบจะเริ่มต้นหลังจาก คำว่า BEGIN เป็นต้นไป

รูปที่ 5.3 การกำหนดการเชื่อมต่อและสถาปัตยกรรม

1. การกำหนดการเชื่อมต่อ
การกำหนดการเชื่อมต่อเป็นระดับบนสุดของการออกแบบ โดยในระดับนี้ต้องกำหนดพอร์ตสำหรับการติดต่อกับองค์ประกอบ ภายนอกอื่นๆ ดังตัวอย่างในรูปที่ 5.4 ซึ่งเป็นบล็อคไดอะแกรม และการบรรยายการเชื่อมต่อขององค์ประกอบสำหรับตัวจ่าย สัญญาณนาฬิกา ในบรรทัดแรกของการบรรยายการเชื่อมต่อเป็นการกำหนดชื่อขององค์ประกอบซึ่งกำหนดเป็น clock_ component ตามด้วยคำว่า PORT และชื่อของพอร์ตอยู่ภายในวงเล็บ ส่วน IN และ OUT เป็นการกำหนด โหนดของสัญญาณให้เป็นอินพุทหรือเอาท์พุท และ BIT เป็นการแสดงชนิดของข้อมูล

รูปที่ 5.4 บล็อคไดอะแกรมและการบรรยายการเชื่อมต่อของ clock_ component

2. การกำหนดรูปแบบการบรรยาย
หน้าที่การทำงานขององค์ประกอบจะถูกบรรยายภายในส่วนนี้ ซึ่งในการบรรยายสามารถกำหนดค่าของสัญญาณ เอาท์พุทในเทอมของอินพุทหรือในรูปขององค์ประกอบอื่นๆ หรือทั้งสองอย่างรวมกันก็ได้ ดังตัวอย่างการบรรยายของ clock_component ในรูปที่ 5.5 ซึ่งเป็นการบรรยายในเชิงพฤติกรรมโดยมี en เป็นอินพุทและ ck เป็นเอาท์พุท PROCESS เป็นคำที่ใช้ในการเริ่มต้นสำหรับการบรรยายในเชิงพฤติกรรม และภายในโปรเซสกำหนดให้ periodic เป็นตัวแปรที่มีคำเริ่มต้นเป็น "0" ถ้าสัญญาณ en มีค่าเป็น "1"' จะทำให้ตัวแปร periodic ถูกคอมพลีเมนท์ (complement) และส่งค่าให้กับ ck ซึ่งเป็นสัญญาณเอาท์พุท และสำหรับคำสั่ง WAIT จะเป็นการกำหนดให้สัญญาณมีคาบเวลาเท่ากับ 1 ไมโครวินาที

รูปที่ 5.5 การบรรยายเชิงพฤติกรรมของ clock _ component

3. หน่วยการออกแบบแพ็กเก็ต
ข้อมูลต่างๆ ตลอดจนโปรแกรมย่อย ที่เป็นประโยชน์ต่อการเขียนรูปแบบการบรรยายระบบดิจิตอล สามารถเก็บไว้ใน ส่วนของแพ็กเก็ต ซึ่งหน่วยการออกแบบต่างๆ เช่น หน่วยการออกแบบ Entity หน่วยการออกแบบสถาปัตยกรรมหรือ หน่วยการออกแบบแพ็กเกจอื่นๆ สามารถเรียกข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้ นอกจากนั้นสิ่งที่นิยมทำกันมากคือการนำรูปแบบ มาตรฐานต่างๆ เช่น อุปกรณ์มาตรฐาน (เช่น ไอซีตระกูล 74XX เป็นต้น) มาเก็บไว้ในรูปของแพ็กเกจ ที่ทุกคนสามารถ เข้าถึงได้ ตามปกติแล้วแพ็กเกจจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การประกาศแพ็กเกจ ( Package declaration)และ ส่วนของบอดี้แพ็กเกจ (Package body ) เนื่องจาก แพ็กเกจถูกสร้างขึ้นเป็นส่วนแยกต่างหากออกจากรูปแบบที่ กำลังเขียนอยู่ ฉะนั้นการที่นำแพ็กเกจไปใช้นั้นจะต้องมีการเชื่อมโยงหรืออ้างอิงเสียก่อน ซึ่งในภาษา VHDL สามารถ กระทำได้ด้วยชุดคำสั่ง USE

3.1 PACKAGE DECLARATION
ส่วนที่มีความสำคัญที่สุดของแพ็กเกจ (ถ้ามองในแง่ของการนำไปใช้จากภายนอก) ได้แก่ส่วนการประกาศแพ็กเกจ เนื่องจากเป็นส่วนที่ใช้กำหนดชื่อของสิ่งที่ประกาศอยู่ภายในแพ็กเกจ สำหรับนำไปใช้ภายนอกตัวของแพ็กเกจเอง ถ้ามี การประกาศสิ่งใดๆ ในส่วนของส่วนบอดี้แพ็กเกจ แต่ไม่ถูกประกาศในส่วนการประกาศแพ็กเกจจะทำให้ค่าและพฤติ กรรมไม่สามารถนำไปใช้งานในส่วนนอกได้ซึ่งเปรียบเทียบได้กับสิ่งที่ประกาศไว้ในส่วนของการประกาศ Entity คือ จุดเชื่อมต่อ หรือ พอร์ต ที่มีหน้าที่ติดต่อกับโลกภายนอก ฉะนั้นโดยทั่วไปแล้วแพ็กเกจสามารถสร้างขึ้นได้โดยไม่จำเป็น ต้องมีส่วนบอดี้ และยังสามารถนำไปใช้งานจากรูปแบบภายนอกได้เช่น ใช้สำหรับประกาศ ชนิด (Type) หรือสัญญาณ เช่นเดียวกับ ส่วนบอดี้แพ็กเกจที่ไม่จำเป็นต้องมี ส่วนของการประกาศแพ็กเกจ แต่แพ็กเกจนั้นจะไม่สามารถนำไปใช้จาก รูปแบบอื่นได้

รูปที่ 5.6 โครงสร้างทั่วไปของส่วนการประกาศแพ็กเกจ

3.2 PACKAGE BODY
โครงสร้างซึ่งประกอบด้วยลำดับคำสั่งที่ใช้บรรยายฟังก์ชันการทำงานของโปรแกรมย่อยทั้งหลาย ซึ่งชื่อของโปรแกรมย่อยนั้นๆ ได้ถูกประกาศไปแล้วในส่วนของการประกาศแพ็กเกจ จะถูกเก็บไว้ในส่วนของบอดี้แพ็กเกจ ทั้งนี้รวมถึง การกำหนดค่าคงที่ต่างๆ อันได้แก่ค่าคงที่ที่ถูกประกาศชื่อไว้ก่อนในส่วนของการประกาศแพ็กเกจ และถูกกำหนดค่าใน ส่วนของบอดี้แพ็กเกจ ฉะนั้นในส่วนของบอดี้แพ็กเกจจึงไม่จำเป็นต้องมี ถ้าในส่วนของการประกาศแพ็กเกจไม่มีการ ประกาศชื่อที่เป็นโปรแกรมย่อย หรือค่าคงที่ การเขียนบอดี้แพ็กเกจนั้นจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังแสดงในรูปที่ 5.7

รูปที่ 5.7 โครงสร้างของบอดี้แพ็กเกจ

4. หน่วยการออกแบบ Configuration
ดังที่ทราบกันแล้วว่าระบบดิจิตอลรูปแบบหนึ่งไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม จะสามารถมีหน่วยการออกแบบ Entity ได้ เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ซึ่งในหน่วยการออกแบบ Entity หนึ่งหน่วยนี้อาจจะมีสถาปัตยกรรมที่เป็นหน่วยรองได้หลาย หน่วย ดังนั้นจะต้องมีหน่วยการออกแบบ Configuration มาเพื่อกำหนดการใช้ Configuration ของการประกอบ Entity กับหน่วยการออกแบบสถาปัตยกรรมหน่วยใดๆ เข้าด้วยกัน


รูปที่ 5.8 โครงสร้างโดยทั่วไปของหน่วยการออกแบบโครงแบบ

5. โปรแกรมย่อย
การใช้ฟังก์ชันและโพรซีเจอร์ใน VHDL เปรียบได้กับการใช้โปรแกรมย่อยในการเขียนโปรแกรมภาษาชั้นสูงทั่วๆ ไปค่าที่ถูกส่งกลับหรือถูกเปลี่ยนแปลงโดยโปรแกรมย่อยอาจจะมีหรือไม่มีผลต่อฮาร์ดแวร์โดยตรงก็ได้ เช่นถ้าใช้ฟังก์ชัน แทนการกระทำในสมการบูลีนก็จะมีผลต่อวงจรลอจิกจริงๆในขณะที่ถ้าใช้โปรแกรมย่อยในการเปลี่ยนชนิดของข้อมูล หรือในการคำนวณค่าการหน่วงเวลาแล้วก็จะไม่มีผลต่อโครงสร้างของฮาร์ดแวร์ รูปที่ 5.9 แสดงการใช้โพรซีเจอร์ เพื่อเปลี่ยนข้อมูลชนิด 8 บิตเป็นค่าจำนวนเต็ม และรูปที่ 5.10 แสดงการใช้ฟังก์ชันโดยกำหนดให้ X เป็นตัวแปรชนิด บิตแทนการกระทำในสมการบูลีน

รูปที่ 5.9 การใช้โพรซีเจอร์


รูปที่ 5.10 การใช้ฟังก์ชัน

6. โอเปอร์เรเตอร์
การบรรยายเชิงพฤติกรรมในภาษา VHDL มีตัวดำเนินการหรือโอเปอร์เรเตอร์ทางลอจิกและคณิตศาสตร์เช่นเดียว กับภาษาซอฟต์แวร์ทั่วไปดังรูปที่ 5.11

รูปที่ 5.11 ตัวดำเนินการใน VHDL

7. เวลาและความพร้อมเพรียง
ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์อุปกรณ์ทุกๆ ตัวจะอยู่ในสภาพเตรียมพร้อมเสมอ (Always Active) และจะมีเรื่องของเวลา เข้ามาเกี่ยวข้องในทุกๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเสมอ VHDL เป็นภาษาที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถบรรยายรูป แบบและการพ้องกันของเวลาสำหรับการทำงานของอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง การบรรยายการทำงานที่อยู่ภายในส่วน ของการบรรยายสถาปัตยกรรม จะมีการทำงานที่พร้อมเพรียงกันเสมอ หรือแม้แต่โปรเซสซึ่งมีการทำงานภายในเป็น แบบลำดับคำสั่งก็ตาม ซึ่งหากมีหลายๆ โปรเซสอยู่ภายในโครงสร้างเดียวกัน ทุกๆ โปรเซสก็จะทำงานไปพร้อมๆ กัน ด้วย

8. สัญญาณและตัวแปร
สัญญาณมีลักษณะเป็นเสมือนตัวกลางฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลและมีเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยการ กำหนดค่าให้กับสัญญาณจะใช้สัญลักษณ์ <= ในการส่งค่าและสามารถใช้คำสั่ง AFTER เพื่อกำหนดช่วงเวลาในการ ส่งผ่านค่าของสัญญาณ เช่น w <= a AFTER 12 NS หมายถึงการกำหนดค่าสัญญาณ a ให้กับ w หลังจากเวลา ผ่านไป 12 นาโนวินาที ในทางตรงข้ามตัวแปรมีลักษณะเป็นเสมือนตัวกลางที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลและไม่มีเรื่องของ เวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งตัวแปรจะถูกใช้ในส่วนที่มีการทำงานเป็นแบบลำดับคำสั่งเช่นใน ฟังก์ชัน โพรซีเจอร์ และ โปรเซส สำหรับการกำหนดค่าให้กับตัวแปรจะใช้สัญลักษณ์ :=

การบรรยายเชิงพฤติกรรม
การบรรยายลักษณะการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในเชิงพฤติกรรม เป็นการบรรยายลักษณะการเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลในรูปแบบของอัลกอริธึมสำหรับการคำนวณผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นซึ่งสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะของข้อมูล ที่เข้ามาโดยไม่คำนึงถึงลักษณะโครงสร้างหรือความสัมพันธ์ของอุปกรณ์ที่อยู่ภายในว่าจะเป็นอย่างไร ในหัวข้อนี้จะ แสดงถึงการบรรยายเชิงพฤติกรรม แทนการใช้โมดูลฮาร์ดแวร์รวมถึงข้อกำหนดต่างๆ ที่ควรรู้

โปรเซส
โปรเซสเป็นรูปแบบพื้นฐานอย่างหนึ่งที่ใช้ในการกำหนดให้กับสัญญาณ โปรเซสจะอยู่ในสถานะที่เตรียมพร้อมอยู่เสมอ และจะปฏิบัติคำสั่งพร้อมๆ กันกับโปรเซสอื่นๆ ที่อยู่ในสถาปัตตกรรมบรรยายเดียวกัน โดยโปรเซสจะปฏิบัติงานตามคำ สั่งทันทีที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับญญาณที่อยู่ทางด้านขวามือของสัญลักษณ์กำหนดค่าให้กับสัญญาณ (<=) การบรรยาย โปรเซสจะเริ่มต้นด้วยคำสั่ง PROCESS และจบด้วยคำสั่ง END PROCESS ในรูปที่ 5.12 เป็นการแสดงส่วน ประกอบของการบรรยายแบบโปรเซส ซึ่งประกอบด้วยส่วนของการประกาศตัวแปรที่ต้องใช้และส่วนของการปฏิบัติ คำสั่งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

รูปที่ 5.12 รูปแบบของการบรรยายแบบโปรเซส

การกำหนดตัวดำเนินการภายในโปรเซส
ตัวดำเนินการภายในโปรเซสมี 3 ชนิดคือ ตัวแปร (Variable) ไฟล์ (File) และตัวคงที่ (Constant) ซึ่งตัวดำเนิน การทั้งสามชนิดนี้หากมีการประกาศไว้ในโปรเซสใดก็จะใช้ได้เฉพาะภายในโปรเซสนั้นเท่านั้นสำหรับการติดต่อกับภาย นอกหรือระหว่างโปรเซสสามารถทำได้โดยใช้สัญญาณ (Signal) หรือตัวคงที่ที่ได้ประกาศไว้ในส่วนของ ARCHITECTURE ในรูปที่ 5.13 แสดงตัวอย่างการประกาศตัวกระทำภายในโปรเซส ซึ่งจะอยู่ระหว่างคำสั่ง PROCESS และ BEGIN และค่าเริ่มต้นที่ถูกกำหนดให้กับตัวดำเนินการภายในโปรเซสจะถูกนำมาใช้ในตอนเริ่มต้น ของการปฎิบัติเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ต่างกับค่าเริ่มต้นที่อยู่ภายในโปรแกรมย่อยจะถูกนำมาใช้ทุกครั้งที่มีการเรียกใช้ โปรแกรมย่อยนั้น ๆ

รูปที่ 5.13 ตัวอย่างการประกาศตัวดำเนินการภายในโปรเซส

การกำหนดการกระทำภายในโปรเซส
การกระทำใดๆ ภายในโปรเซสจะเป็นการปฎิบัติแบบลำดับ (Sequential) เสมอ ซึ่งภายในโปรเซสสามารถใช้ประโยค เงื่อนไขหรือการทำซ้ำได้เช่น IF-THEN - ELSE,CASE - WHEN, FOR LOOP และ WHILE LOOP ดังตัวอย่างในรูปที่ 5.14 และ 5.15


รูปที่ 5.14 เงื่อนไขการกระทำในโปรเซส


รูปที่ 5.15 แสดงการกระทำในโปรเซส

การกระตุ้นและยับยั้งการกระทำของโปรเซส
การกระทำภายในโปรเซสจะอยู่ในสภาพเตรียมพร้อม และมีการปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ เกิดขึ้น อย่างไรก็ดีเราสามารถกระตุ้นหรือยับยั้งการกระทำภายในโปรเซสได้โดยการกำหนดรายการของสัญญาณที่ต้อง การให้โปรเซสปฎิบัติงานเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับสัญญาณที่กำหนดไว้เท่านั้น ส่วนเหตุการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นกับสัญญาณ ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในรายการก็จะไม่ส่งผลให้มีการกระทำภายในโปรเซส ซึ่งรายการของสัญญาณนี้เรียกว่า Sensitivity List และจะกำหนดไว้ภายในวงเล็บหลังคำสั่ง PROCESS รูปที่ 5.16 (a) แสดงตัวอย่างโมเดล และรูปที่ 5.16 (b) เป็นตัวอย่างการบรรยายการเชื่อมต่อของ D-Flip Flop ส่วนรูปที่ 5.17 แสดงถึงการบรรยายเชิงพฤติกรรมของ D-Flip Flop โดยในรูปที่ 5.17 (a) เป็นการใช้ตัวกระทำภายนอกโปรเซส และรูปที่ 5.17 (b) เป็นการใช้ตัวกระทำภายในโปรเซส โดยมีรายการของสัญญาณ (rst, set, clk) เป็นตัวกระตุ้นการปฏิบัติงานภายในโปรเซส


รูปที่ 5.16 (a) ตัวอย่างโมเดล D-Flip Flop
(b) การบรรยายการเชื่อมต่อของ D-Flip Flop

รูปที่ 5.17 การบรรยายเชิงพฤติกรรมของ D-FlipFlop
(a) การใช้ตัวกระทำภายนอกโปรเซส
(b) การใช้ตัวกระทำภายในโปรเซส


การออกแบบจากบนลงล่าง
ในการพัฒนาวงจรรวมดิจิตอลขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน วิศวกรหรือผู้ออกแบบมักจะมองการออกแบบให้อยู่ในรูปของ บล็อกไดอะแกรมก่อนที่ทำวิเคราะห์ให้ลึกถึงรายละเอียดต่อไป ซึ่งภาษา VHDL นั้นอนุญาตให้อธิบายและวิเคราะห์การ ทำงานของแต่ละบล็อก รวมถึงการปรับปรุงการทำงานจากผลที่วิเคราะห์เพื่อให้ได้การทำงานตามต้องการ นอกจากนี้ยัง สามารถเพิ่มเติมในรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนได้ ซึ่งหลักการนี้สอดคล้องกับหลักการออกแบบจากบนลงล่าง (Top - Down Design) นั่นเอง ถ้าทดลองเปรียบเทียบกับการออกแบบจากล่างขึ้นบน (Bottom - Up Design) จะเห็นได้ว่า การออกแบบจากล่างขึ้นบนจะใช้เวลาการออกแบบมากกว่า 90% เนื่องจากเป็นการวาดวงจรด้วยอุปกรณ์ต่างๆ (Schematic capture ) ที่ประกอบกันเข้าเป็นวงจรที่ต้องการออกแบบ ก่อนแล้วจึงทำการจำลองการทำงาน และตรวจ สอบความถูกต้อง ดังนั้นการใช้ภาษา VHDL กับหลักการออกแบบจากบนลงล่างจึงเป็นทางออกให้กับวิศวกรให้สามารถ ออกแบบและพัฒนาวงจรที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น ทั้งยังช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการออกแบบด้วย

รูปที่ 5.18 ขั้นตอนการออกแบบจากบนลงล่าง

จากรูปที่ 5.18 แสดงถึงขั้นตอนของการออกแบบจากบนลงล่าง ทั้งนี้ในทางปฏิบัติอาจมีข้อแตกต่างไปจากนี้บ้าง เล็กน้อยเนื่องจากขั้นตอนของการผลิต (Implementation) สามารถกระทำได้หลายเทคโนโลยี สำหรับรายละเอียดของขั้นตอน การออกแบบจากบนลงล่างในแต่ละขั้นตอนมีดังนี้

1.สร้างข้อกำหนดของความต้องการ และวิเคราะห์ระบบ เพื่อหาแนวความคิดและหลักการ (Idea and Concept) ใน การแก้ปัญหา

2.เขียนรูปแบบของระบบที่ต้องการออกแบบโดยใช้ภาษา VHDL หรือ ภาษา HDL อื่น ๆ สำหรับบรรยายพฤติกรรมการ ทำงาน พร้อมทั้งจำลองการทำงาน เพื่อเปรียบเทียบและตรวจสอบความถูกต้องกับข้อกำหนด

3.หลังจากที่ได้หลักการขั้นต้นพร้อมแนวความคิดที่ผ่านการตรวจสอบแล้วหลักการนี้จะถูกเพิ่มเติมในรายละเอียดลงมา เป็นลำดับขั้นที่สอง จนกระทั้งอยู่ในระดับที่จะนำไปผลิตวงจริง หรือสังเคราะห์ในขั้นตอนนี้เองเทคโนโลยีที่จะมารองรับ วงจรออกแบบจะถูกกำหนดขึ้น และระบบช่วยการออกแบบจะสังเคราะห์วงจรที่ได้จากรูปแบบที่เขียนขึ้นให้อยู่ในรูปของ วงจรที่ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือวงจรในระดับเกท และการเชื่อมต่อระหว่างกันของอุปกรณ์เหล่านั้นหรือ ไม่ก็อยู่ในรูปของ Netlist ที่สามารถนำไปผลิตในอุปกรณ์อื่นได้

4.หลังจากการสังเคราะห์วงจรให้อยู่ในระดับเกทหรือ Netlist แล้ว ข้อมูลนี้จะถูกใช้สำหรับจำลองการทำงานในเรื่อง ความถูกต้องของฟังก์ชัน พร้อมกับนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเวลาเข้ามาประกอบการพิจารณาด้วย ซึ่งตามปกติแล้วอุปกรณ์ ทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นจะมีเวลาหน่วงของการแพร่กระจาย (Propagation Delay Time) เสมอ ถึงแม้ว่าจะเป็น เวลาที่น้อยมากในระดับนาโนวินาทีก็ตาม แต่ถ้าภายในวงจรหนึ่งประกอบด้วยเกทของฟังก์ชันต่างๆ จำนวน 10,000 เกท ขึ้นไป เวลาดังกล่าวนี้จะสะสมกันมากขึ้น จนอาจทำให้การทำงานของวงจรรวมทั้งหมดผิดพลาดไป หรือไม่สามารถทำ งานในย่านความถี่สัญญาณนาฬิกาที่สูงได้

5.ผลิตเป็นวงจรจริง (Technology and device mapping) โดยนำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์มาผลิต ซึ่งอาจ จะอยู่ในรูปของแผงวงจรไฟฟ้า ที่ประกอบด้วยอุปกรณ์หลายๆ ชิ้นหรืออยู่ในรูปของวงจรรวม ASIC

6.ทำการตรวจสอบการทำงานและตัวแปรทางด้านเวลาทั้งหมด เพื่อความถูกต้องของวงจรเป็นครั้งสุดท้ายก่อนนำไปรวมเข้ากับอุปกรณ์อื่นๆ ให้เป็นระบบดิจิตอล เนื่องจากในขั้นตอนนี้ วงจรที่ออกแบบ จะประกอบด้วยจุดต่อทางอินพุทและเอาท์พุท ซึ่งเป็นจุดต่อสำหรับการรับและส่งสัญญาณกับภายนอก

7.นำวงจรที่ออกแบบไว้ประกอบเข้ากับอุปกรณ์อื่นๆ ให้เป็นระบบที่สมบูรณ์ แล้วทำการทดสอบการทำงานทั้งระบบร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ อีกครั้งเพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์